ข้อมูลทั่วไป
ประวัติความเป็นมาของตำบลเขาขาว
30 พฤศจิกายน 544

0


ตามตำนานเล่าขานมาว่ามีพระยา  ๒  คน  แย่งทำมาหากินกันในพื้นที่ดังกล่าวนี้เพราะดินใน

บริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์มาก กองทัพของพระยาทั้งสองได้รบกันเป็นเวลานาน แต่ไม่สามารถเอาชนะกันได้ต่อมาจึง “หย่าทัพ” กัน (ยุติการรบ) ซึ่งเรียกเป็นภาษามลายูว่า “ตอละ” แปลว่าเลิก  แล้วตกลงแบ่งพื้นที่ออกเป็น  ๒  ฝ่าย คือ ฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ เรียกว่า ตอละเหนือและตอละใต้ (ตอละเหนือ คือ ตำบลน้ำผุดในปัจจุบันนี้ ส่วนตอละใต้คือตำบลเขาขาวในปัจจุบัน)

                   ตอละเหนือมีขุนสำราญ เป็นผู้ปกครอง ส่วนตอละใต้มีขุนภิรมย์เป็นผู้ปกครอง (ขุนภิรมย์เดิมชื่อ นายผอม   นกเกษม) มีผู้ใหญ่บ้านชื่อ  นายเหลบ   ซึ่งต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นสนิท

                   ตอละใต้เปลี่ยนชื่อมาเป็นตำบลเขาขาว  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓  มีกำนันเอ๊ะ  ติ้งดำ  เป็นกำนันคนแรกของตำบล เหตุที่เปลี่ยนมาเป็นตำบลเขาขาว เพราะมีภูเขาใหญ่ที่มียอดสูงที่สุดและที่ด้านหน้าของภูเขามีหน้าผาสีขาวขนาดใหญ่มองเห็นได้เด่นชัด และบนยอดเขาดังกล่าวมีบ่อน้ำอยู่บ่อหนึ่งซึ่งไม่เคยแห้งเลยทุกฤดูกาล ในสมัยโบราณชาวบ้านนับถือกันมากและพากันกราบไหว้าบูชาบนบานศาลกล่าวในเรื่องต่าง ๆ มากมายและเรียกกันว่า “ทวดโต๊ะเขาขาว”

                   ปัจจุบันราษฎรได้ตั้งถิ่นฐานรวมกันเป็นชุมชนบ้านเรือนอยู่ในสองฟากของถนนเพื่อความสะดวกในการสัญจรไปมา และมีบางส่วนที่สร้างบ้านเรือนอยู่ในสวนซึ่งเป็นที่ดินของตนเอง ดำเนินชีวิตเรียบง่ายแบบชาวบ้านชนบท ภายใต้วัฒนธรรมแบบอิสลาม มีมัสยิดหรือสุเหร่าเป็นจุดศูนย์กลางและเป็นศูนย์รวมของชุมชน ราษฎรนับถือศาสนาอิสลามประมาณ  ๙๖  เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด ส่วนอีกประมาณร้อยละ  ๔  นับถือศาสนาพุทธ

ข้อมูลพื้นฐาน
30 พฤศจิกายน 542

0


สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

๑.      สภาพทั่วไป

๑.๑ ประวัติความเป็นมาของตำบลเขาขาว

ตามตำนานเล่าขานมาว่ามีพระยา  ๒  คน  แย่งทำมาหากินกันในพื้นที่ดังกล่าวนี้เพราะดินใน

         บริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์มาก กองทัพของพระยาทั้งสองได้รบกันเป็นเวลานาน แต่ไม่สามารถเอาชนะกันได้ต่อมาจึง “หย่าทัพ” กัน (ยุติการรบ) ซึ่งเรียกเป็นภาษามลายูว่า “ตอละ” แปลว่าเลิก  แล้วตกลงแบ่งพื้นที่ออกเป็น  ๒  ฝ่าย คือ ฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ เรียกว่า ตอละเหนือและตอละใต้ (ตอละเหนือ คือ ตำบลน้ำผุดในปัจจุบันนี้ ส่วนตอละใต้คือตำบลเขาขาวในปัจจุบัน)

                   ตอละเหนือมีขุนสำราญ เป็นผู้ปกครอง ส่วนตอละใต้มีขุนภิรมย์เป็นผู้ปกครอง (ขุนภิรมย์เดิมชื่อ นายผอม   นกเกษม) มีผู้ใหญ่บ้านชื่อ  นายเหลบ   ซึ่งต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นสนิท

                   ตอละใต้เปลี่ยนชื่อมาเป็นตำบลเขาขาว  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓  มีกำนันเอ๊ะ  ติ้งดำ  เป็นกำนันคนแรกของตำบล เหตุที่เปลี่ยนมาเป็นตำบลเขาขาว เพราะมีภูเขาใหญ่ที่มียอดสูงที่สุดและที่ด้านหน้าของภูเขามีหน้าผาสีขาวขนาดใหญ่มองเห็นได้เด่นชัด และบนยอดเขาดังกล่าวมีบ่อน้ำอยู่บ่อหนึ่งซึ่งไม่เคยแห้งเลยทุกฤดูกาล ในสมัยโบราณชาวบ้านนับถือกันมากและพากันกราบไหว้าบูชาบนบานศาลกล่าวในเรื่องต่าง ๆ มากมายและเรียกกันว่า “ทวดโต๊ะเขาขาว”

                   ปัจจุบันราษฎรได้ตั้งถิ่นฐานรวมกันเป็นชุมชนบ้านเรือนอยู่ในสองฟากของถนนเพื่อความสะดวกในการสัญจรไปมา และมีบางส่วนที่สร้างบ้านเรือนอยู่ในสวนซึ่งเป็นที่ดินของตนเอง ดำเนินชีวิตเรียบง่ายแบบชาวบ้านชนบท ภายใต้วัฒนธรรมแบบอิสลาม มีมัสยิดหรือสุเหร่าเป็นจุดศูนย์กลางและเป็นศูนย์รวมของชุมชน ราษฎรนับถือศาสนาอิสลามประมาณ  ๙๖  เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด ส่วนอีกประมาณร้อยละ  ๔  นับถือศาสนาพุทธ    

๑.๒ สภาพภูมิประเทศ

             สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม บางส่วนที่เป็นเนินสูง  เช่น  บ้านบ่อหิน  สภาพพื้นดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วน ดินเหนียว  มีลำคลองใหญ่และเล็กหลายสาย เช่น  คลองละงู  คลองลำจุหนุง  คลองลำปาโร๊ด และมีหนองน้ำอีกหลายแห่ง ในฤดูฝนมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพทางด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำนา ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ และปลูกผักต่าง ๆ    เพื่อขายในจังหวัดและต่างจังหวัด ส่วนการคมนาคมใช้ทางบกเพียงทางเดียว

ที่ตั้ง

   ตำบลเขาขาว   ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอละงู   ระยะทางประมาณ   ๑๕  กิโลเมตร  และห่างจากจังหวัดสตูล  ประมาณ  ๖๐  กิโลเมตร  มีเนื้อที่ประมาณ   ๓๙.๑๕๔  กิโลเมตร  หรือ ๒๔,๔๗๑.๒๕ ไร่

อาณาเขต

ทิศเหนือ          ติดต่อกับตำบลกำแพง และบ้านลานเสือ ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยมีแนวเขต

ทิศตะวันออก    ติดต่อกับตำบลละงู อำเภอละงู  จังหวัดสตูล และตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล

ทิศใต้               ติดต่อกับตำบลละงู อำเภอละงู  จังหวัดสตูล

ทิศตะวันตก      ติดต่อกับตำบลกำแพง  บ้านทุ่งเสม็ด  ตำบลกำแพง  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล

๑.๓ ประชากร

          ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวมีทั้งสิ้น ๖,๖๐๕ คน  แยกเป็นชาย ๓,๓๓๘  คนและหญิง ๓,๒๖๗  คน  แยกรายละเอียดได้ดังนี้

 

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนครัวเรือน/หลัง

จำนวนประชากร

รวม

หมายเหตุ

ชาย

หญิง

๑.  บ้านสันติสุข  หมู่ที่  ๑

๓๘๓

๕๖๘

๕๘๔

๑,๑๕๒

 

2.  บ้านหาญ  หมู่ที่   ๒

๑๗๘

๓๔๐

๓๑๕

๖๕๕

 

๓.  บ้านบ่อหิน  หมู่ที่  ๓

๕๕๗

๘๙๘

๘๗๐

๑,๗๖๘

 

๔.  บ้านนาข่าเหนือ  หมู่ที่  ๔

๑๘๗

๓๖๗

๓๕๔

๗๒๑

 

๕.  บ้านดาหลำ  หมู่ที่  ๕

๒๕๒

๔๖๘

๔๖๒

๙๓๐

 

๖.  บ้านทุ่งเกาะปาบ หมู่ที่  ๖

๒๙๖

๔๘๕

๔๗๖

๙๖๑

 

๗.  บ้านนาข่าใต้  หมู่ที่  ๗

๑๒๔

๒๑๒

๒๐๖

๔๑๘

 

รวม

๑,๙๘๗

๓,๓๓๘

๓,๒๖๗

๖,๖๐๕

 


* ข้อมูล ณ เดือน มกราคม ๒๕๖๖

๑.๓ ประชากร

             ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวมีทั้งสิ้น  ๖,๔๔๕  คน  แยกเป็นชาย  ๓,๒๒๗  คนและหญิง  ๓,๒๒๘ คน  มีความหนาแน่น เฉลี่ย  ๑๖๔ คน/ตารางกิโลเมตร แยกรายละเอียดได้ดังนี้

๑.๔ ทรัพยากรธรรมชาติ หมายเหตุ  ข้อมูล ณ วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๗

                   ทรัพยากรธรรมชาติที่พบว่ามีหลายชนิด  เช่น แร่ธาตุ โดยแร่ธาตุที่ขุดพบ คือ พลวงและตะกั่ว  แต่ยังไม่มีการขุดในเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้มีป่าไม้นานาพันธุ์ในบริเวณนี้ มีทั้งไม้สวยงามและไม้เนื้อแข็ง  เช่น ไม้สาวดำ  ไม้หมากพลูตั๊กแตน  เป็นต้น  สัตว์น้ำมีเฉพาะสัตว์น้ำจืดเพราะไม่มีพื้นที่ติดทะเล 

๒.โครงสร้างพื้นฐาน

๒.๑ การคมนาคม

๒.๑.๑ ทางรถยนต์ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว มีเส้นทางคมนาคมทางหลวงชนบทที่

เชื่อมต่อระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีทางหลวงชนบทที่สำคัญได้แก่

          ๑. ทางหลวงชนบท หมายเลข ๓๐๐๗  เป็นทางหลวงชนบทที่แยกจากทางหลวง

          แผ่นดิน หมายเลข ๔๐๗๘ เป็นเส้นทางหลักที่สามารถเดินทางไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุดและมีเส้นทางหลวงชนบทที่เชื่อมต่อไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลปาล์มพัฒนา  อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล นอกจากนั้นก็เป็นเส้นทางหลวงชนบทที่ใช้ในเดินทางติดต่อภายในเขตพื้นที่ จำนวน ๕ สาย คือ

๑.      สายบ้านเกาะแกล-บ้านหัวควน

๒.      สายบ้านเกาะแกล-บ้านหาญ

๓.      สายบ้านดาหลำ-บ้านนาข่า

๔.      สายบ้านเกาะเปลว-ลำตอละ

๕.      สายบ้านบ่อหิน-บ้านทุ่งเกาะปาบ

๒.๒ แหล่งน้ำ

๑) คลองละงู เป็นธรรมชาติไหลมาจากตำบลน้ำผุดไหลผ่านหมู่ที่  ๔, ๕, ๖ และ ๗  ขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวเป็นคลองที่มีน้ำไหลผ่านตลอดปี

๒)      คลองลำตอละและลำจุหนุง เป็นคลองตามธรรมชาติในช่วงแล้งน้ำจะแห้งไม่พอใช้สำหรับ

การเกษตร

๓)      หนองพรุบุหลัง  เป็นหนองน้ำธรรมชาติมีเนื้อที่ประมาณ ๑๖ ไร่ ใช้สำหรับเลี้ยงปลาและทำ

การเกษตร

๓)      ฝายน้ำล้น   มี  ๔  แห่ง

๔)      บ่อน้ำตื้น    มี  ๔๕๐  บ่อ

๕)      บ่อบาดาล   มี  ๓๕  บ่อ

๖)      บ่อโยก       มี  ๔๓  บ่อ

๒.๓ การไฟฟ้ามีจำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงครบทุกหมู่บ้านและทุกหลังคาเรือน

๒.๔ การโทรคมนาคม มีโทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๖ แห่ง

๓. ด้านเศรษฐกิจ

สภาพเศรษฐกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวประชากรมีฐานะทางรอบครัวอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร เช่นสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทำนาทำไร่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังประกอบอาชีพเสริม เช่น ทำขนม  ช่างเสริมสวย  ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า  ช่างก่อสร้าง  ปลูกผักสวนครัว  เลี้ยงไก่ไข่  ไก่เนื้อ  เลี้ยงแพะ  ไก่ชน  การปลูกผักผลไม้มีเกือบทุกชนิด   เช่น ทุเรียน  เงาะ   มังคุด  ส้มโอ   ขนุน  ส้มโชกุน เป็นต้น ส่วนอาชีพค้าขายมีอยู่โดยทั่วไปทุกหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นร้านขายของชำ

สถานที่ท่องเที่ยว

          มีถ้ำวังคราม  ตั้งอยู่บ้านหาญ  หมู่ที่   ๒  ตำบลเขาขาว  นับเป็นถ้ำที่สวยงามมากถ้ำหนึ่ง  ปัจจุบันมีการก่อสร้างถนนลาดยางจนถึงบริเวณถ้ำวังคราม

          แหละหนองพรุบุหลัง มีการก่อสร้างถนคอนกรีตเสริมเหล็กรอบ ๆ เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และออกกำลังกาย 

๔.   ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

           ทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว  เช่น  ทรัพยากรป่าไม้  ป่าเขาขาว และป่าควนทัง  มีไม้หลุมพอ  ไม้ยาง  ไม้ไผ่เขียว เป็นต้น สำหรับปัญหามลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมประสบปัญหาอยู่บ้าง เนื่องจากมีผู้ประกอบการมาตั้งโรงโม่หินและโรงงานคัดแยกทรายในเขตพื้นที่ เหตุดังกล่าวจึงส่งผลกระทบคุณภาพของน้ำในคลองละงูและคุณภาพอากาศในละแวกโรงงาน

๕.  ด้านสังคม

          ๕.๑  ด้านการศึกษา  มีสถานศึกษาอยู่  ๖  แห่ง

๑.     โรงเรียนบ้านหาญ

๒.     โรงเรียนบ้านบ่อหิน

๓.     โรงเรียนบ้านดาหลำ (โรงเรียนโครงการขยายโอกาสทางการ ศึกษา)

๔.     โรงเรียนบ้านนาข่า

๕.     ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลเขาขาว

                                ๖.     สูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

 

๕.๓  ศาสนา มีมัสยิด จำนวน  ๗  แห่ง

๑.      มัสยิดบ้านหนองแบก

๒.       มัสยิดญามีอุฎฎันยีบีน

๓.       มัสยิดบ้านบ่อหิน

๔.       มัสยิดเอี๊ยะซาน

๕.      มัสยิดญามีอุลอิควาน

๖.      มัสยิดนูรุลมูบีน

๗.       มัสยิดมิฟต้าฮุดดีน

๖. ขนบธรรมเนียมประเพณี

การติดต่อสื่อสารใช้ภาษาไทยกลางและภาษาไทยปักษ์ใต้  แต่ยังมีภาษามลายูท้องถิ่นเข้ามาปน

อยู่มากพอสมควร กิจกรรมที่ปรากฏจนเป็นประเพณี  เช่น  การแข่งขันกีฬาตำบล กีฬาเยาวชน  ส่วนการละเล่นอื่น  ๆ ไม่ค่อยปรากฏให้เห็นเด่นชัด  ประเพณีที่สำคัญที่ยึดถือปฏิบัติที่สืบต่อกันมา  ได้แก่  ประเพณีการแต่งงาน  ประเพณีเข้าสุนัต  ประเพณีวันฮารีรายอ  วันเมาลิด  เทศกาลถือศีลอดในเดือนรอมฎอน การเลี้ยงทำบุญต่าง ๆ(นูหรี)  เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่เสียชีวิตไปแล้วและเป็นการสร้างบุญกุศลของผู้ประกอบกิจกรรมดังกล่าว

๗.  การสาธารณสุข

           ตำบลเขาขาวมีสถานพยาบาลประจำตำบล  ๑  แห่ง คือ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลเขาขาว  โดยให้บริการด้านส่งเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลเขาขาว

๘.   สวัสดิการสังคม

          การให้การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนชรา  คนพิการ และคนพิการ  ในเขตตำบลเขาขาว  พ.ศ. ๒๕๕๘  จำนวน ๘๘๖  คน ซึ่งคนชราได้รับการช่วยเหลือจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น  จำนวน  ๗๒๘  คน คนพิการรวม  ๑๔๓  ราย  ผู้ป่วยเอดส์   จำนวน   ๑๕  ราย